อำนาจหน้าที่
โรงเรียนบ้านห้วยผึ้งใหม่ได้ดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก โดยการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน โครงการต่างๆ เพื่อตอบสนองและพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา โดยจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้นแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพที่สูงขึ้น โดยการร่วมมือจากหลายหลายองค์กรและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องที่นำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา นอกจากนี่ยังได้จัดกิจกรรมกาเรียนการสอนที่หลากหลาย มีหลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและเหมาะสมกับการพัฒนาผู้เรียนแบบเต็มศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน โดยเน้นพัฒนาทักษะชีวิต กระบวนการคิดและการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
บทบาทหน้าที่และอำนาจ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1 การส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยทุกรูปแบบ
2 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใรศตวรรษที่ 21
4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
5 สร้างโรงเรียนน่าอยู่ น่าดู น่าเรียนและน่าเชื่อถือ
6 การส่งเสริมเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ
7 ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม มีทักษะทางด้านกีฬา รู้คุณค่าศิลปวัฒนธรรม
ดำรงตนได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
บทบาทหน้าที่และอำนาจการบริหารจัดการศึกษา
การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านห้วยผึ้งใหม่ ได้เน้นหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยมีการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติของบุคลากรทุกระดับและทุกฝ่าย บริหารงานตามวงจรการทำงาน PDCA (Plan, Do , check , Action) ในทุกกิจกรรมที่มีการดำเนินงานจะมีการกำกับติดตาม คอยแนะนำให้คำปรึกษาแบบกัลยาณมิตร ซึ่งมีจุดเริ่มต้นด้วยการสร้างความตระหนักและจิตสำนึก(Awareness) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานทั่วไป และกลุ่มบริหารงานบุคลากร โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน และกลุ่มหัวหน้างาน นิเทศติดตามงานในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สนับสนุนเห็นชอบต่อการวางแผนการดำเนินงานของโรงเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชนท้องถิ่น
|